คู่มือปฏิบัติติงาน ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา
สังกัด มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
โดย
นายภาคภูมิ บุญมาภิ
ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา
คำนำ
ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งให้ความรู้ สาระต่าง ๆ ที่ได้มาจากการค้นคว้า ข่าวสารจากเทคโนโลยีสารสนเทศ นั้น สามารถนามาประยุกต์ใช้ทั้งทางด้านการศึกษาและชีวิตประจำวันได้ ดังนั้น เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการแข่งขันในยุคโลกาภิวัตน์ด้วยการพัฒนาสังคมและประชากรให้เป็นสังคม ของการเรียนรู้ ที่สามารถใช้ภูมิปัญญามาพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติให้เจริญ ก้าวหน้า กลายเป็นสังคมที่พัฒนา แล้วในทุกด้าน เกิดความมั่นคงและความเจริญก้าวหน้าที่ยั่งยืน ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุขทั่วกัน โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโทรคมนาคมที่ทันสมัย เป็นแรงขับเคลื่อนกิจกรรม ต่าง ๆ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมของการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงที่ยั่งยืน การนำ ICT มาใช้ประโยชน์ในการบริหาร และการให้บริการ การใช้ ICT เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต การยกระดับอาจารย์ นักศึกษา ตลอดจนบุคลากรให้มีความรู้ด้าน ICT เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงาน และเพื่อให้สามารถแปรไปสู่ภาคปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมและมีความเป็นไปได้ ซึ่งมีความสำคัญสำหรับการ ริเริ่มการพัฒนาสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญในการวางรากฐานที่จะทำให้เกิดการ พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติต่อไปในอนาคต
ประวัติความเป็นมา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
๑. ที่อยู่ : เลขที่ ๑๗ หมู่ ๓ ตำบลแม่ทราย อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ โทรศัพท์: ๐-๕๔๖๔-๘๕๙๓ โทรสาร : ๐-๕๔-๘๓๗๔, ๐-๕๔๖๔-๘๕๙๖ URL : http://www.phrae.mju.ac.th/
๒. ประวัติความเป็นมา
ปีพ.ศ.๒๕๓๘ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ดำเนินการขยายพื้นที่การศึกษาของมหาวิทยาลัยไปยังภูมิภาค ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๓๘ โดยให้มหาวิทยาลัย/สถาบัน ๑๐ แห่ง ขยายวิทยาเขต/ขยายพื้นที่การสอนไปยังภูมิภาคในพื้นที่ ๑๑ จังหวัด คือ จังหวัดหนองคาย พะเยา จันทบุรี แพร่ ตรัง ชุมพร สุราษฎร์ธานี สกลนคร กาญจนบุรี ราชบุรี และปราจีนบุรี ในครั้งนี้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้เสนอโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ เพื่อรับผิดชอบภาระหน้าที่ในการจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา โดยการกระจายโอกาสทางการศึกษาไปยังจังหวัดแพร่และจังหวัดใกล้เคียง
ต่อมาได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ให้เป็น โครงการเฉลิมพระเกียรติ ” ตามหนังสือที่ นร(สส) ๑๒๐๑/๖๕ ลงวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๓๘ จึงเรียกโครงการนี้ว่า โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ” เป็นส่วนราชการหนึ่งสังกัดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในแรกเริ่มการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้แต่งตั้งผู้บริหารทั้งภาครัฐ เอกชนและบุคคลที่มีชื่อเสียงในจังหวัดแพร่ เป็นคณะกรรมการบริการโครงการจัดตั้ง และระดมสมองในการดำเนินแผนงานแม่บทด้านวิชาการและว่าจ้างบริษัทเซาท์เทอร์นเอ็นจิเนียร์จำนวนเงิน ๒.๑๔ ล้านบาท ศึกษาและวางแผนแม่บททางกายภาพในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ และเสนอต่อทบวงมหาวิทยาลัย แต่เนื่องจากภาวะผันผวนทางเศรษฐกิจ ทำให้ต้องมีการปรับแผนแม่บทให้มีความสอดคล้องกับนโยบายภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และศักยภาพของมหาวิทยาลัยเองโดยให้มีการพัฒนาเป็นวิทยาเขตขนาดเล็ก แต่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้เป็นเลิศทางวิชาการและเป็นศูนย์กลางของการแก้ปัญหาในท้องถิ่น
เมื่อได้รับการเห็นชอบจากทบวงมหาวิทยาลัย จึงได้จัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นในปี ๒๕๔๒ ในชื่อว่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – แพร่ เฉลิมพระเกียรติ” (Maejo University Phrae Campus)
๓. ปรัชญา วิสัยทัศน์ เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ พันธกิจ และนโยบายการบริหารงานตามพันธกิจ
๓.๑ ปรัชญา
มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป้นผู้อุดมด้วยปัญญา อดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อความเจริญรุ่งเรืองวัฒนาของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน
๓.๒ วิสัยทัศน์
“เป็นมหาวิทยาลัยทางการเกษตรปลอดภัย และเทคโนโลยีในระดับชาติ”
๓.๓ เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
“เป็นมหาวิทยาลัยที่ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนและบริการวิชาการในระดับอาเซียน”
๓.๔ อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
พัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่เป็นนักปฏิบัติที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชา
๓.๕ พันธกิจ
๑. ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และทักษะด้านการเกษตรปลอดภัย โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
๒. พัฒนาองค์ความรู้ด้านการวิจัยทางการเกษตร เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อมุ่งสู่ความเชี่ยวชาญในระดับชาติ
๓. เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเกษตรปลอดภัย
๔. ทำนุบำรุง สืบสานศิลปวัฒนธรรมเกษตรท้องถิ่น อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๕. พัฒนาระบบการบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล
๓.๖ นโยบายการบริหารงานตามพันธกิจ
ด้านการเรียนการสอน
๑. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยนำกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษามาเป็นกลไกในการบริหารจัดการที่เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนการสอน
๒. ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมที่ช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล
๓. ส่งเสริมการศึกษาด้านการค้นคว้าองค์ความรู้ใหม่เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ
๔. ส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันตลอดจนสนับสนุนการบริการวิชาการและมีส่วนร่วมกับชุมชนในการพัฒนาท้องถิ่น
๕. ส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาที่เน้นความเป็นเลิศด้านเกษตรปลอดภัย เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ
ด้านการวิจัย
๑. ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ตลอดจนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน และนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนและประเทศ
๒. ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรได้รับทุนวิจัยจากทั้งภายในมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภายนอก และจัดให้มีระบบสนับสนุนงานวิจัยเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับนักวิจัยที่มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลงานของ สกอ.และ สกว.
๓. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการวิจัยด้านเกษตรปลอดภัย
๔. ส่งเสริมและสนับสนุนการทาวิจัยเพื่อแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์งานวิจัยของจังหวัดแพร่ และของชาติ และเป็นไปตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
๕. บูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาชุมชน/ท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ
ด้านการบริการวิชาการและงานส่งเสริมสืบสานโครงการพระราชดาริ
๑. ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมบริการวิชาการ เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน ด้วยความตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม ดังนี้
๑.๑ จัดทำแบบสำรวจความต้องการของประชาชนในชุมชน/ท้องถิ่น
๑.๒ ประสานและส่งเสริมให้มีการบริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีตามแนวพระราชดาริ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยและสอดคล้องกับนโยบายของประเทศ
๑.๓ ส่งเสริมและสนับสนุนโครงการ/กิจกรรมการพัฒนาท้องถิ่นโดยเน้นการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งและยั่งยืนตามแนวพระราชดำริ
๑.๔ ให้ความร่วมมือกับประชาชน ชุมชน ผู้นำชุมชน องค์กรภาครัฐและเอกชน ในการพัฒนาชุมชน/ท้องถิ่น ตามแนวพระราชดาริ
ด้านกิจการนักศึกษา
๑. สร้างความรู้ ความสามารถ และความรับผิดชอบในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของนักศึกษา เพื่อประโยชน์ทั้งในด้านประสบการณ์ทำงานด้านวิชาการและวิชาชีพแก่นักศึกษา
๒. ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษารู้จักใช้สิทธิ และหน้าที่ของตนเองในระบบประชาธิปไตย โดยปลูกฝังนักศึกษาให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม เคารพในสิทธิและหน้าที่ของผู้อื่น
๓. ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษา เสียละ บำเพ็ญประโยชน์ อุทิศตนเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม เพื่อเป็นคนดี คนเก่ง ของประเทศชาติ
ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
๑. ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาและบุคลากรรักษาไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี อันเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนและประเทศชาติ
๒. ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาและบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมตามประเพณีสำคัญๆ ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ
๓. สร้างความตระหนักในคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิถีวัฒนธรรมไทยให้กับสังคม โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชน
ด้านบริหารจัดการ
๑. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยมีการจัดระบบการบริหารจัดการที่ดีตามหลัก ธรรมมาภิบาล และกำหนดอำนาจหน้าที่ของบุคลากรให้ชัดเจน
๒. จัดระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล จัดสร้าง และพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ
๓. ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหารและมีแนวทางหรือคู่มือในการบริหารจัดการ
๔.ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างและระบบการบริหารให้สอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย
๕.ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดอันจะก่อให้เกิดการประหยัดงบประมาณด้านการบริหารจัดการ
๔. ประเด็นยุทธศาสตร์
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนามหาวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๑ ไว้จำนวน ๕ ประเด็นยุทธศาสตร์ เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้แก่
๑. การเสริมสร้างวิชาการและทักษะวิชาชีพทางด้านเกษตรปลอดภัย โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
๒. การสร้างองค์ความรู้ทางด้านการเกษตรปลอดภัยและพัฒนานวัตกรรมบนพื้นฐานเทคโนโลยีการเกษตรให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ
๓. เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเกษตรปลอดภัย
๔. เป็นศูนย์เรียนรู้ทางวัฒนธรรมเกษตรท้องถิ่น และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๕. การพัฒนาระบบการบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล
ลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติ
ชื่อผู้ปฏิบัติงาน นายภาคภูมิ บุญมาภิ
ชื่อตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานด้านคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับทางการศึกษา
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง เช่น ทำหน้าที่ในการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ติดตั้งชุดคำสั่งสำเร็จรูป ใช้ ปรับปรุง แก้ไขแฟ้มข้อมูล เขียนชุดคำสั่ง ตามข้อกำหนดของระบบงานที่ได้วางแผนไว้แล้ว ทดสอบความ ถูกต้องของคำสั่ง แก้ไขข้อผิดพลาดของคำสั่ง ปรับปรุงและบริหารจัดการเว็บไซต์ ระบบสารสนเทศของฝ่ายงาน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
วัตถุประสงค์ของการปฏิบัติติงาน
-
ความพึงพอใจของผู้รับบริการ
-
กระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
-
ข้อมูลถูกต้องแม่นยำ
-
การลดระยะเวลาการทำงานและบริการ
-
การพัฒนาระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพเพื่อการตัดสินใจ
-
การบริหารทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนระบบงาน
๑. ระบบสหกิจ
หลักการและเหตุผล
เป็นระบบการศึกษาที่เน้นการปฏิบัติงานในสถานประกอบการอย่างมีระบบ โดยจัดให้มีการเรียนในสถานศึกษา ร่วมกับการจัดให้นักศึกษาไปปฏิบัติงานจริง ณ สถานประกอบการที่ให้ความร่วมมือ เป็นเวลา 16 สัปดาห์ นักศึกษาสามารถเรียนรู้ประสบการณ์จากการไปปฏิบัติงาน และทำให้นักศึกษามีคุณภาพตรง ตามที่ สถานประกอบการต้องการมากที่สุด มีกระบวนการดำเนินงานสหกิจศึกษา ดังนี้
๑. อาจารย์ประจำสาขาวิชา
รับผิดชอบการปฏิบัติงานของนักศึกษาในสาขาวิชาของตน ประสานงานกับสถานประกอบการที่มีความสัมพันธ์กับหลักสูตรอยู่แล้ว เพื่อให้ได้สถานประกอบการที่สามารถรับนักศึกษาไปปฏิบัติงานได้ ประชาสัมพันธ์ตำแหน่งงาน คัดเลือกนักศึกษาลงตำแหน่งงาน และ ประกาศผลการคัดเลือก
๒. นักศึกษาหาตำแหน่งงาน
นักศึกษากรอกคำร้องต่าง ๆ เพื่อขอสมัครเข้าปฏิบัติงานสหกิจศึกษา เสมือนเป็นพนักงานชั่วคราว ลักษณะงานที่ปฏิบัติ ได้รับความเห็นชอบ และเขียนเป็นโครงการ โดยมีพนักงานผู้รับผิดชอบฝ่ายสถานประกอบการ และ อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา จากทางมหาวิทยาลัย
๓. แจ้งความประสงค์ในการรับนักศึกษาสหกิจศึกษา
สถานประกอบการแจ้งความประสงค์ตอบรับนักศึกษาสหกิจเข้าปฏิบัติงาน
รายละเอียดขั้นตอนการขอไปปฏิบัติงานระบบงานสหกิจศึกษา
-
เข้าสู่ระบบเพื่อบันทึกข้อมูลนักศึกษาและสถานประกอบการ ให้เข้าเว็บไซต์ฝ่ายงานวิชาการ http://vichakarn.phrae.mju.ac.th/e-student/
ภาพที่ ๑ Web page แรกเข้าฝ่ายวิชาการ
-
เข้าสู่ระบบโดยการป้อนรหัสนักศึกษา และรหัสผ่านระบบInternet มหาวิทายาลัย โดยเลือกนักศึกษา
ภาพที่ ๒ Web page แสดงการเข้าระบบ
-
ให้คลิกเมนู “สหกิจศึกษา”
ภาพที่ ๓ แสดงเมนูการเข้าระบบสหกิจศึกษา
-
เมื่อคลิกเมนู “สหกิจศึกษา” จะปรากฏหน้าจอแบบฟอร์มให้คลิกเลือกกรอข้อมูล ในข้อ 1 (คำร้องขอไปปฏิบัติติงานสหกิจศึกษา) ดังรูปภาพ
ภาพที่ ๔ แสดงเมนูแบบฟอร์มการขอไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
-
เมื่อคลิกเลือกกรอกข้อมูล ในข้อ 1 จะปรากฏหน้าจอรายละเอียดการกรอกข้อมูล โดยคีย์ข้อมูลสถานประกอบการและข้อมูลเบื้องต้น กดปุ่มบันทึก เป็นการสิ้นสุดขั้นตอนการกรอกคำร้องไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา (รออาจารย์ประจำสาขาเป็นผู้อนุมัติ)
ภาพที่ ๕ ภาพการบันทึกข้อมูลการขอไปปฏิบัติงานสหกิกศึกษา
-
อาจารย์ประจำสาขาวิชา อนุมัติคำร้องขอไปปฏิบัติติงานสหกิจศึกษา
ภาพที่ ๖ ภาพข้อมูลการอนุมัติคำร้องไปปฎิบัติงานสหกิจ
-
เมื่อได้รับการอนุมัติในศึกษากรอกแบบฟอร์มการสมัครงานทุกข้อให้แสดงเครื่องหมายถูก (รอเจ้าหน้าที่ ส่งให้สถานประกอบการอนุมัติ)
ภาพที่ ๗ ภาพข้อมูลแบบฟอร์มการสมัครงานที่ใช้กับสถานประกอบการ
-
ประกาศผลการสมัครงานแก่นักศึกษารับทราบ
การกรอกแบบฟอร์มไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
ผังขั้นตอนการปฏิบัติงาน
|
รายละเอียดงาน
|
ผู้เกี่ยวข้อง
|
|
ทำการบันทึกคำร้องขอไปปฏิบัติงานสหกิจ (๑) ขอส่งถึงอาจารย์ประจำสาขา
|
นักศึกษา
|
|
อาจารย์ประจำสาขาวิชาเป็น ตรวจสอบข้อมูล และเป็นผู้อนุมัติ
|
อาจารย์ประจำสาขาวิชา
|
|
ได้รับอนุมัติ อาจารย์ประจำสาขาวิชา นักศึกษาสามารถกรอกแบบฟอร์มสมัครงาน (๒) ได้
|
นักศึกษา
|
|
เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ และเป็นผู้อนุมัติแบบฟอร์มการสมัครงาน
|
เจ้าหน้าที่งานสหกิจ
|
|
เจ้าหน้าที่พิมพ์เอกสารส่งให้กับคณบดี และส่งเอกสารสมัครงานแก่ผู้ประกอบการตอบรับ
|
เจ้าหน้าที่งานสหกิจและผู้ประกอบการ
|
|
จัดทำการประกาศการตอบรับสหกิจศึกษาจากสถานประกอบให้นักศึกษารับทราบ
|
เจ้าหน้าที่งานสหกิจ
|
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
-
ใช้ระบบออนไลน์สะดวกสบายในด้านการกรอกข้อมูล แก้ไขข้อมูล และดูรายละเอียด ทำให้สามารถลดปริมาณในการใช้กระดาษลง
-
การติดต่อสื่อสารหรือส่งข้อมูลถึงเจ้าหน้าที่หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ถูกต้อง รวดเร็ว
-
ลดเวลาในการทำงานของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานสหกิจ ในเรื่องของการพิมพ์ใบคำร้องต่าง ๆ เพื่อขออนุมัติ จากมหาวิทยาลัย
-
มีการจัดเก็บข้อมูลลงในฐานข้อมูล สามารถค้นหาข้อมูลได้สะดวก รวดเร็ว
๒. ระบบจัดการแผนการศึกษา
แผนพัฒนาคุณภาพศึกษาเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับนักศึกษา โดยคณะกรรมการสถานศึกษา เพื่อใช้เป็นแผนแม่บทที่จะกำหนดเป้าหมายและแนวทางในการพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในช่วงระยะเวลาที่กำหนด โดยจัดทำไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสถานศึกษาจะดำเนินงานตามข้อตกลงที่กำหนดร่วมกันนั้น
ดังนั้นทางมหาวิทยาลัยจึงได้จัดการประชุมการจัดทำแผนการศึกษา ก่อนการเปิดภาคการศึกษาขึ้นทุกปี ในการประชุมจัดทำแผนการศึกษานั้นจำเป็นต้องมีข้อมูลแผนการศึกษาของนักศึกษาทุกชั้นปี เพื่อใช้ในดำเนินการจัดรายวิชาของกลุ่มศึกษาทั่วไป กลุ่มวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (นักศึกษาทุกสาขาต้องเรียน) และกลุ่มนักศึกษาที่จำเป็นต้องเปิดรายวิชาเรียน เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทางฝ่ายงานวิชาการเล็งเห็นความสำคัญของแผนการศึกษา จึงให้พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการจัดทำแผนการศึกษา มีข้อมูลที่ถูกต้อง สะดวก รวดเร็ว สามารถตอบโจทย์ของคณาจารย์ของแต่ละสาขาวิชาที่ต้องการรู้ว่ารายวิชาที่ได้จัดการเรียนการสอนไปแล้วนั้น มีรายวิชาอะไรบ้าง ครบหลักสูตรหรือไม่ อาจารย์แต่ละท่านสอนรายวิชาไหนบ้าง และรายวิชาที่เปิดนั้นมีรายวิชา P ตัวไหนบ้าง จะทำให้การดำเนินจัดทำแผนการศึกษาเกิดความถูกต้อง รวดเร็ว ก่อนที่จะเปิดภาคการศึกษา
รายละเอียดขั้นตอนการเตรียมข้อมูลจัดแผนการศึกษา
การจัดแผนการศึกษาแต่ละครั้งนั้นเจ้าหน้าที่ต้องเพิ่มข้อมูลรายวิชาในระบบของแต่ละหลักสูตรลงไปก่อน เป็นการจำลองข้อมูลก่อนที่จะบันทึกข้อมูลแผนการศึกษาในระบบลงทะเบียน และเปิดให้นักศึกษาลงทะเบียนต่อไป
-
เข้าสู่ระบบเพื่อจัดการระบบแผนการศึกษา ให้เข้าเว็บไซต์ฝ่ายงานวิชาการ http://vichakarn.phrae.mju.ac.th/e-student/
ภาพที่ ๑ Web page แรกเข้าฝ่ายวิชาการ
-
เข้าสู่ระบบโดยการป้อนชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านระบบ เลือกสถานะ “เจ้าหน้าที่”
ภาพที่ ๒ Web page แสดงการเข้าระบบ
หมายเหตุ ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านระบบ ใช้ของอีเมล์ phrae.mju.ac.th หรือ mju.ac.th โดยการเลือกเปลี่ยนที่เครื่องหมาย @
-
ให้คลิกเลือกเมนู “ระบบจัดการแผนการศึกษา”
ภาพที่ ๓ Web page แสดงข้อมูลระบบสารสนเทศ
-
แสดงเมนูข้อมูลต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดการแผนการศึกษา เลือกคลิก “โครงสร้างหลักสูตร”
ภาพที่ ๔ แสดงรายการเมนูของระบบจัดการแผนการศึกษา
-
แสดงโครงสร้างหลักสูตร จากตัวอย่างแสดงข้อมูล สาขาวิชาการบัญชี รหัส 61 เจ้าหน้าที่ทำการพิมพ์ข้อมูลเพื่อใช้ในการประชุมแผนการศึกษา และสามารถปรับเปลี่ยนผู้สอนรายวิชาได้
ภาพที่ ๕ แสดงข้อมูลรายวิชาในหลักสูตรการบัญชี รหัส 61
หมายเหตุ ภาพตัวอย่างนี้แสดงข้อมูลบางส่วนเพื่อใช้ยกตัวอย่างการแสดงข้อมูลรายวิชาเท่านั้น
-
ส่วนแสดงการพิมพ์ข้อมูลแผนการศึกษาตามปีการศึกษา จากรูปภาพแสดงข้อมูล สาขาวิชาบัญชี ๔ ปี ปีการศึกษา ๒๕๖๑ เจ้าหน้าที่พิมพ์ข้อมูลของทุกสาขาวิชา เพื่อนำไปประกอบการประชุมจัดทำแผนการศึกษา (ยืนยันการเปิดรายวิชา)
ภาพที่ ๖ แสดงข้อมูลรายวิชาในหลักสูตรการบัญชี รหัส 61
-
เมื่อมีการประชุมแผนการศึกษาเสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่นำข้อมูลมาปรับเปลี่ยนและบันทึก (ภาพที่๕) ระบบแสดงรายวิชา ชื่อผู้สอน (ภาพที่๖) และดำเนินการบันทึกข้อมูลเปิดรายวิชาให้นักศึกษาลงเบียน
การประสานงานรวบรวมจัดทำแผนการศึกษา
ผังขั้นตอนการปฏิบัติงาน
|
รายละเอียดงาน
|
ผู้เกี่ยวข้อง
|
|
นำรายวิชาเข้าระบบตามหลักสูตร ใหม่ ในแต่ละสาขาวิชา (ชั้นปี 1)
|
เจ้าหน้าที่หลักสูตร
|
|
พิมพ์เอกสารรายวิชาในแต่ละสาขาวิชาที่เรียน ตามภาคการศึกษาและปีการศึกษา
|
เจ้าหน้าที่หลักสูตร
|
|
ร่วมพิจารณารายวิชาเปิดสอนแต่ละสาขาวิชา และอาจารย์ประจำสาขาวิชา ยืนยันแผนการศึกษา
|
รองฝ่ายงานวิชาการ
และคณาจารย์
|
|
ได้รับการยืนยันแผนการศึกษาจาก อาจารย์ประจำสาขาวิชา เจ้าหน้าที่หลักสูตรปรับแก้ตามคำยืนยัน
|
เจ้าหน้าที่หลักสูตร
|
|
ตรวจสอบความถูกต้อง และพิมพ์เอกสารข้อมูลรายวิชาทั้งหมดส่งให้กับเจ้าหน้าที่ทะเบียน
|
เจ้าหน้าที่หลักสูตร
|
|
เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลรายวิชาเพื่อเปิดให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียน
|
เจ้าหน้าที่ทะเบียน
|
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
-
วางแผนการเปิดรายวิชา สำหรับนักศึกษาตกค้าง ก่อนเปิดรายวิชาให้นักศึกษาลงทะเบียนได้
-
ติดตามรายวิชาที่เปิดเรียนครบหลักสูตรหรือไม่
-
สะดวกสบายในด้านการกรอกข้อมูล แก้ไขข้อมูล และดูรายละเอียดข้อมูลจากที่ไหนก็ได้ที่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต
-
ลดเวลาในการทำงาน ในเรื่องของการพิมพ์เอกสารหลักสูตรต่าง ๆ
-
มีการจัดเก็บข้อมูลลงในฐานข้อมูล สามารถค้นหาข้อมูลได้สะดวก รวดเร็ว
๓. ระบบการจัดการสอบและผลิตข้อสอบ
เนื่องด้วยมหาวิทยาลัยได้กำหนดการสอบกลางภาคและปลายภาคทุกปีการศึกษา เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบทางด้านการเรียนการสอนจึงจำเป็นต้องจัดระเบียบตารางการสอบขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการระบุห้องสอบ วันและเวลาสอบ ผู้ควบคุมการสอบของแต่ละรายวิชา และอาจารย์จำเป็นต้องออกข้อสอบในแต่ละรายวิชา เพื่อส่งให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการผลิตข้อสอบ ทำการผลิต ส่งผลให้อาจารย์จำเป็นต้องมีข้อมูลรายวิชา ห้องสอบ สาขาวิชาของผู้เข้าสอบ จำนวนผู้เข้าสอบ รายชื่อผู้เข้าสอบ วัน เวลา และอาจารย์ผู้ควบคุมห้องสอบ เพื่อใช้ในการเขียนข้อมูลการสอบในแต่ละรายวิชา (ใบปะหน้าข้อมูล) ซึ่งในแต่ละอาจารย์ผู้สอนมีรายวิชาที่รับผิดชอบมากกว่า ๑ รายวิชา ทำให้เกิดการล่าช้าในการหาข้อมูลมาเขียนลงในใบปะหน้าข้อสอบ
ดังนั้น จึงได้พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เกี่ยวกับข้อมูลการสอบ ให้มีการพิมพ์ข้อมูลการสอบ (ใบปะหน้าข้อสอบ) และการแจ้งการผลิตข้อสอบให้รับทราบ ตรวจเช็คจำนวนข้อสอบในคลังข้อสอบ ตรวจผู้รับส่งข้อสอบ และนำไปตรวจ เพื่ออำนวยความสะดวกให้คณาจารย์ผู้สอน เจ้าหน้าที่ผู้ผลิตข้อสอบ และให้การจัดการสอบเป็นไปได้ความถูกต้องรวดเร็ว
รายละเอียดขั้นตอน ระบบการจัดการผลิตข้อสอบ (ในส่วนของเจ้าหน้าที่)
-
เข้าสู่ระบบเพื่อจัดการระบบแผนการศึกษา ให้เข้าเว็บไซต์ฝ่ายงานวิชาการ http://vichakarn.phrae.mju.ac.th/e-student/
ภาพที่ ๑ Web page แรกเข้าฝ่ายวิชาการ
-
เข้าสู่ระบบโดยการป้อนชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านระบบ เลือกสถานะ “เจ้าหน้าที่”
ภาพที่ ๒ Web page แสดงการเข้าระบบ
หมายเหตุ ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านระบบ ใช้ของอีเมล์ phrae.mju.ac.th หรือ mju.ac.th โดยการเลือกเปลี่ยนที่เครื่องหมาย @
-
ให้คลิกเลือกเมนู “ระบบการสอบ”
ภาพที่ ๓ Web page แสดงข้อมูลระบบสารสนเทศ
-
แสดงเมนูระบบการสอบ คลิกเลือก “กำหนดฐานข้อมูลการสอบ” กำหนดปีการศึกษา ภาคเรียน ช่วงการสอบ (M สอบกลางภาค F สอบปลายภาค) และช่วงเวลาการสอบ
ภาพที่ ๔ แสดงหน้าจอกำหนดฐานข้อมูลการสอบ
ภาพที่ ๕ แสดงหน้าจอกำหนดฐานข้อมูลการสอบ
-
เมื่อกำหนดฐานข้อมูลการสอบเรียบร้อยแล้ว คณาจารย์สามารถเข้าไปดูข้อมูลการสอบ และพิมพ์ใบปะหน้าข้อสอบนำมาติดกับซองข้อสอบ
-
แสดงหน้าจอ การผลิตข้อสอบ แสดงลำดับคิวการผลิต ชื่อผู้รับงานผลิต สถานการณ์ผลิตข้อสอบ จำนวนรายวิชาทั้งหมดที่เข้าสอบ สถานะข้อสอบเข้าคลังข้อสอบ รายชื่อผู้ที่ยังไม่ส่งข้อสอบมาดำเนินการผลิต
-
เมื่อเจ้าหน้าที่ผลิตข้อสอบเสร็จ ระบบจะแจ้งสถานการณ์ผลิตข้อสอบไปยังอาจารย์เจ้าของรายวิชา ให้มาตรวจสอบความถูกต้อง ของตัวข้อสอบ พร้อมบันทึกลายมือผู้ตรวจสอบ แล้วจึงนำเข้าคลังข้อสอบเพื่อดำเนินการสอบต่อไป
รายละเอียดขั้นตอน ระบบการรับ-จ่ายข้อสอบ (ในส่วนของเจ้าหน้าที่)
-
เลือกเมนู “ระบบรับจ่าย-ข้อสอบ”
-
แสดงหน้าจอ การรับจ่ายข้อสอบ กรอกรหัสข้อสอบหรือใช้เครื่องสแกนบาร์โค้ดสแกนที่ใบปะหน้าข้อสอบ ระบบจะแสดงข้อมูลของข้อสอบ เจ้าหน้าที่ตรวจเช็ครายชื่อผู้คุมสอบตรงกับผู้มารับข้อสอบหรือไม่ แล้วทำการยืนยัน การรับข้อสอบ
-
เมื่อทำการสอบเสร็จแล้ว นำข้อสอบส่งให้เจ้าหน้าที่ หรืออาจารย์เจ้าของวิชานำไปตรวจ กรอกรหัสข้อสอบหรือใช้เครื่องสแกนบาร์โค้ดสแกนที่ใบปะหน้าข้อสอบ ระบบจะแสดงข้อมูลของข้อสอบ เจ้าหน้าที่ตรวจเช็ครายชื่อผู้ส่งข้อสอบตรงกับเจ้าของรายวิชาที่ใบปะหน้าข้อสอบหรือไม่ แล้วทำการยืนยัน
หมายเหตุ กรณีที่เจ้าของรายวิชามาส่งข้อสอบแล้วต้องการรับไปตรวจ ให้เจ้าหน้าบันทึก 2 รูปแบบการบันทึก คือ การส่งข้อสอบและการนำข้อสอบไปตรวจด้วย
การส่งข้อสอบกลางภาค
ผังขั้นตอนการปฏิบัติงาน
|
รายละเอียดงาน
|
ผู้เกี่ยวข้อง
|
๑.
|
อาจารย์เจ้าของรายวิชา เป็นผู้บันทึกส่งรายวิชาที่ต้องการ ให้เจ้าหน้าที่จัดการสอบกลางภาค
|
อาจารย์เจ้าของวิชา
|
๒.
|
เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลรายวิชาทั้งหมด ทำการจัดตาราง ห้อง วัน เวลาและผู้กำกับสอบ สอบกลางภาค
|
เจ้าหน้าที่
|
๓.
|
คณาจารย์เจ้าของรายวิชาตรวจสอบ วัน เวลา ห้องสอบ รายวิชาที่จัดสอบ
|
เจ้าหน้าที่ และคณาจารย์
|
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
-
ความถูกต้องของข้อมูลในใบปะหน้าข้อสอบ
-
ตรวจสอบและติดตามข้อสอบได้
-
เจ้าหน้าที่สามารถตรวจเช็คจำนวนข้อสอบที่จัดสอบ
-
ลดเวลาในการทำงาน ในเรื่องของการพิมพ์เอกสารหลักสูตรต่าง ๆ
-
มีการจัดเก็บข้อมูลลงในฐานข้อมูล สามารถค้นหาข้อมูลได้สะดวก รวดเร็ว
๔. ระบบส่งเอกสาร (มคอ.) ออนไลน์
หลักการและเหตุผล
อ้างถึงงานประกันคุณภาพ ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรต้องให้ความสำคัญการวางระบบผู้สอนในแต่ละรายวิชา การกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ (มคอ.๓ และ มคอ.๔) และการจัดการเรียนการสอน
ทางฝ่ายงานวิชาการเห็นความสำคัญในการประเมินคุณภาพการศึกษาในทุกประเด็น เพื่อเป็นการไม่ให้การประเมินด้านตัวบ่งชี้ที่ 5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรลดลง จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบสารสนเทศในการจัดการในเรื่องการกำกับ ติดตามและตรวจสอบ แผนการเรียนรู้ (มคอ.๓ มคอ.๔ มคอ.๕ และเค้าโครงการสอน) และการจัดการเรียนการสอน จากอาจารย์เจ้าของวิชาขึ้น
รายละเอียดขั้นตอน ระบบส่งเอกสาร (มคอ.) ออนไลน์ (ในส่วนของคณาจารย์)
-
ให้เข้าเว็บไซต์ฝ่ายงานวิชาการ http://vichakarn.phrae.mju.ac.th/e-student/
ภาพที่ ๑ Web page แรกเข้าฝ่ายวิชาการ
-
เข้าสู่ระบบโดยการป้อนชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่าน โดยเลือก “อาจารย์”
ภาพที่ ๒ Web page แสดงการเข้าระบบ
หมายเหตุ ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านระบบ ใช้ของอีเมล์ phrae.mju.ac.th หรือ mju.ac.th โดยการเลือกเปลี่ยนที่เครื่องหมาย @
-
เลือกเมนู “เอกสารตามกรอบ TQF”
ภาพที่ ๓ Web page แสดงรายการเมนูของระบบ
-
จะปรากฎรายการส่งเอกสาร มคอ.ต่าง ๆ ในแต่ละภาคการศึกษา แสดงจำนวนรายวิชาที่คงค้างการส่งเอกสาร เลือกเอกสารมคอ.ที่ต้องการ โดยการคลิกส่งเอกสาร หรือรายวิชาที่คงค้าง
ภาพที่ ๔ Web page แสดงรายการเอกสาร มคอ.ต่าง ๆ
-
เมื่อคลิกส่งเอกสาร จะปรากฏหน้ารายวิชาที่ต้องส่งเอกสาร ให้ทำการเลือกรายวิชา โดยการคลิกช่องสี่เหลี่ยมหน้าชื่อรายวิชา (หมายเลข ๒) แล้วทำการ คลิก Browser เลือกไฟล์ข้อมูลในเครื่อง (หมายเลข ๓) คลิกปุ่มบันทึกเพื่อส่งเอกสาร
ภาพที่ ๕ Web page แสดงข้อมูลรายวิชาที่จะต้องส่งเอกสาร มคอ.
หมายเหตุ สามารถดูประเภทของ มคอ.ได้ ตรงแถบสีด้านบน (หมายเลข ๑)
-
เมื่อทำการส่งเอกสารเรียบร้อยแล้วจะปรากฏหน้าจอแสดงผลการส่งข้อมูล
ภาพที่ ๖ Web page แสดงผลการส่งไฟล์ข้อมูล
หมายเหตุ ถ้าท่านยังไม่ได้คลิกปุ่มยืนยันการส่งเอกสาร (หมายเลข ๑) ท่านสามารถลบไฟล์แล้วส่งไฟล์ใหม่ได้ แต่ถ้ากรณีที่ท่านยืนยันการส่งเอกสารไปแล้ว ท่านสามารถส่งคำขอแก้ไขข้อมูล (หมายเลข ๒) ให้เจ้าหน้าปลดล็อคการแก้ไขให้ไฟล์ของท่าน
-
แสดงรายการเมื่อส่งไฟล์เอกสารเสร็จสมบูรณ์ จะปรากฏรูปแม่กุญแจและบอกวันที่ เวลาส่งเอกสาร
ภาพที่ ๗ Web page แสดงผลการส่งไฟล์ข้อมูลเสร็จสมบูรณ์
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
-
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการกำกับ ติดตามและตรวจสอบสถานะส่งเอกสารของผู้รับผิดชอบแต่ละวิชาได้ถูกต้อง และรวดเร็ว
-
ลดปริมาณกระดาษอย่างมาก เนื่องจากจัดเก็บเป็นไฟล์ข้อมูล
-
ค้นหาข้อมูลได้สะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง
-
ลดเวลาในการทำงาน ในเรื่องของการพิมพ์เอกสารส่งให้เจ้าหน้าที่
๕. ระบบลงทะเบียนอบรม/สัมมนา
หลักการและเหตุผล
การจัดโครงการในส่วนของฝ่ายวิชาการ ในแต่ละปีการศึกษาจะมีโครงการเกี่ยวกับอาจารย์ บุคลากรและนักศึกษาจำนวนมาก เพื่อให้การรายงานผลจำนวนการจัดโครงการในรอบปี แสดงผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถแยกวันจัดอบรมให้นักศึกษาเลือกลงทะเบียนได้ สะดวก รวดเร็ว จึงจัดทำระบบละทะเบียนอบรม/สัมมนาออนไลน์ขึ้น
รายละเอียดขั้นตอน ระบบจัดการโครงการอบรม/สัมมนา
-
เข้าสู่ระบบจัดการโครงการอบรม/สัมมนา ให้เข้าเว็บไซต์ฝ่ายงานวิชาการ http://vichakarn.phrae.mju.ac.th/e-student/
ภาพที่ ๑ Web page แรกเข้าฝ่ายวิชาการ
-
เข้าสู่ระบบโดยการป้อนชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านระบบ เลือกสถานะ “เจ้าหน้าที่”
ภาพที่ ๒ Web page แสดงการเข้าระบบ
หมายเหตุ ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านระบบ ใช้ของอีเมล์ phrae.mju.ac.th หรือ mju.ac.th โดยการเลือกเปลี่ยนที่เครื่องหมาย @
-
เลือกเมนู “ระบบจัดการโครงการอบรม/สัมมนา”
ภาพที่ ๓ Web page แสดงรายชื่อระบบสารสนเทศ
-
คลิกเพิ่มหัวข้อการลงทะเบียน
ภาพที่ ๔ Web page แสดงเมนูระบบจัดการโครงการอบรม/สัมมนา
-
กรอกรายละเอียดโครงการต่าง ๆ
ภาพที่ ๕ Web page แสดงแบบฟอร์มข้อมูลโครงการ
-
เมื่อบันทึกข้อมูลแล้ว ระบบจะแสดงรายการที่ท่านได้บันทึก ให้ลงทะเบียนออนไลน์ได้
ภาพที่ ๖ Web page แสดงหัวข้อโครงการฝึกอบรม/สัมมนา
-
แสดงหน้าจอ รายละเอียดข้อมูลของโครงการ พร้อมปุ่มการยืนยันการลงทะเบียน
ภาพที่ ๗ Web page แสดงรายละเอียดข้อมูลโครงการและปุ่มยืนยันการลงทะเบียน
-
เมื่อยืนยันการลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว สามารถดูผลการลงทะเบียนได้ โดยการคลิกปุ่ม “ดูรายชื่อ” ระบบจะแสดงหน้าจอรายชื่อและรายละเอียดข้อมูลโครงการ
ภาพที่ ๘ Web page แสดงผลการยืนยันการลงทะเบียนโครงการ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
-
จัดสรรงบประมาณในโครงการ เช่น ค่าเอกสาร ค่าอาหาร ต่าง ๆ
-
สะดวก สบาย ในการลงทะเบียน
-
ค้นหาข้อมูลได้สะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง
-
ใช้เป็นฐานข้อมูล อ้างอิงการเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ
๖. ระบบจัดการเว็บไซด์
ในปัจจุบันการเราจะเห็นเว็บไซด์ต่าง ๆ มีการให้ข้อมูล ข่าวสาร ทั้งภาพและเสียง จำนวนมาก ซึ่งการให้ข้อมูล ข่าวสารต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่ใช้ในการสื่อสาร โฆษณา ประชาสัมพันธ์ให้กับผู้อ่านเข้าใจหรือสนใจในเนื้อหาต่าง ๆ ในเว็บไซด์นั้น และในทางการศึกษาก็จำเป็นต้องใช้การสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชน นักศึกษา ผู้ที่สนใจ ได้รับความรู้ ความเข้าใจและเข้าถึงข้อมูลในสถานศึกษาให้มากที่สุด
ทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ และภาคสาขาวิชาต่าง ๆ จำเป็นต้องมีเว็บไซด์สาขาวิชา เพื่อให้ข้อมูล เกี่ยวกับสาขาวิชา กิจกรรม หรือหลักสูตร กับนักศึกษาผู้ที่สนใจในหลักสูตรการเรียนการสอน และให้เกิดความสะดวกสบายในการเข้าถึงข้อมูล แต่ด้วยเว็บไซด์ของมหาวิทายาลัยมีจำนวนมาก บุคลากรผู้ดูแลระบบไม่เพียงพอต่อการจัดการข้อมูลที่ทันเหตุการณ์ปัจจุบัน ในการจัดการเว็บไซด์จึงจำเป็นต้องมีผู้ดูแลรับผิดชอบ ในการอัพเดตข้อมูลต่าง ๆ ในแต่ละเว็บไซด์ จึงได้พัฒนาระบบจัดการเว็บไซด์ขึ้น เพื่อให้บุคลากรเข้าจัดการระบบแบบง่ายๆ ไม่ยุ่งยากเหมือนโปรแกรมสำเร็จรูป และเกิดการยืดหยุ่นตามความต้องการของสาขาวิชาและหน่วยงาน
รายละเอียดขั้นตอน ระบบจัดการเว็บไซด์
-
เข้าสู่ระบบจัดการเว็บไซด์ให้เข้าเว็บไซต์มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ http://www.phrae.mju.ac.th เลือกแถบเมนู “ระบบสารสนเทศ” แล้วคลิกตรงชื่อ “ระบบจัดการเว็บไซด์”
ภาพที่ ๑ Web page แรกเข้าระบบจัดการเว็บไซด์
-
เข้าสู่ระบบโดยการป้อนชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านระบบ
ภาพที่ ๒ Web page แสดงการเข้าระบบ
หมายเหตุ ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านระบบ ใช้ของอีเมล์ phrae.mju.ac.th หรือ mju.ac.th อย่างใดอย่างหนึ่ง
-
แสดงหน้าจอเมนูระบบสารสนเทศ โดยแบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ๑. ส่วนเว็บเทมเพลต ๒. ส่วนระบบสารสนเทศ ให้ดูส่วนเว็บเทมเพลตที่ท่านได้รับสิทธิ์ จัดการเว็บไซด์นั้น คลิกคำว่า “จัดการข้อมูล”
ภาพที่ ๓ Web page แสดงเมนูของระบบสารสนเทศ
-
เมื่อคลิกจัดการข้อมูลเข้ามาแล้ว จะแสดงหน้าจอโดยแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ
ส่วนที่ ๑ เมนูระบบจัดการเว็บไซด์ ประกอบด้วยเมนูดังนี้
๑.๑ ข้อมูลเว็บ
๑.๒ เมนูเว็บ
๑.๓ โครงสร้างบุคลากร
๑.๔ ปฏิทิน
๑.๕ อัพโหลดไฟล์ข้อมูล
๑.๖ กิจกรรม
๑.๗ แบนเนอร์
๑.๘ ข่าว
ส่วนที่ ๒ การจัดการข้อมูลเว็บไซด์
ระบบจะแสดงค่าเริ่มต้นของเว็บเทมเพลต เช่น คิวอาร์โค้ด และข้อมูลของเว็บเทมเพลต สามารถ
เปลี่ยนแปลงข้อมูลเว็บไซด์แล้วกดปุ่ม “บันทึกข้อมูล”
ภาพที่ ๔ Web page แสดงข้อมูลค่าเริ่มต้นของระบบจัดการเว็บไซด์
ขั้นตอนการเพิ่มเมนูในเว็บไซด์
-
คลิกคำว่า “เมนู” ในส่วนที่ ๑ (ภาพที่ ๔) จากนั้นจะแสดงหน้าจอให้กรอกข้อมูลของเมนูเว็บไซด์ ชื่อเมนูภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ลิงค์ ตำแหน่ง กลุ่มของเมนู
-
ตัวอย่างเว็บเทมเพลต
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
-
จัดการข้อมูลต่าง ๆ เว็บไซด์ง่าย สะดวก รวดเร็ว
-
อัพเดตข้อมูลต่าง ๆ ได้ทันเหตุการณ์
-
ยืดหยุ่นกับสาขาวิชา และหน่วยงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
-
ใช้ฐานข้อมูลเก็บ กิจกรรม ข่าวสารต่าง ๆ ในแต่ละปี ง่ายต่อการค้นหาข้อมูลทางกิจกรรม และข่าวสาร
ขั้นตอนระบบงาน เรื่อง การจัดฝึกอบรม
๑. วัตถุประสงค์
เพื่ออธิบายขั้นตอนการดาเนินการฝึกอบรมให้แก่คณาจารย์บุคลากร นักศึกษา ของมหาวิทยาลัย
๒. ขอบเขต
ขอบเขตครอบคลุมขั้นตอนการดำเนินงาน ตั้งแต่ จัดทำแผนฝึกอบรม ดำเนินการฝึกอบรม กำหนด กิจกรรมรายละเอียดต่าง ๆ ของการฝึกอบรม การฝึกอบรมตามแผนที่กำหนด ประเมินผลการอบรม รายงาน ผลการดำเนินการอบรม
๓. คำจำกัดความ
การฝึกอบรม หมายถึง กระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพ โดยการเพิ่มความรู้ความเข้าใจ ทักษะและ ความชำนาญ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน
๔. ผู้รับผิดชอบ
๔.๑ ผู้บริหารงานบริการวิชาการและวิจัย
๔.๒ งานบริการการศึกษา ผู้รับผิดชอบการจัดฝึกอบรม
๕. ขั้นตอนระบบงาน
จัดทำแผนงบประมาณเบื้องต้น โดยใช้งบประมาณแผ่นดินและเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ดังนี้
๑. ดำเนินจัดทำแผนอบรม
๒. ผู้บริหารงานบริการวิชาการและวิจัยพิจารณาเบื้องต้น
๓. พิจารณาอนุมัติโครงการฝึกอบรม
๔. ดำเนินการจัดฝึกอบรม
๕. สรุปผลการจัดฝึกอบรมประจาปี
๖. เอกสารอ้างอิง (แบบฟอร์มต่าง ๆ ดังแนบ)
* แบบฟอร์มตอบรับเข้าร่วมโครงการฝึกอบรม
* แบบประเมินผลการฝึกอบรม
* แบบรายงานผลการดาเนินการฝึกอบรม
เอกสารกระบวนการปฏิบัติงาน
เรื่อง การจัดฝึกอบรม
๑. ปัจจัยนาเข้าและผู้ส่งมอบ (Input & Supplier) Input
- นโยบายการพัฒนา คณาจารย์บุคลากรและนักศึกษา ของผู้บริหาร
- ความต้องการฝึกอบรมของหน่วยงาน
- วิทยากร
- คณาจารย์บุคลากรและนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ Supplier
- งบประมาณและทรัพยากรต่าง ๆ จากมหาวิทยาลัย
๒. กระบวนการปฏิบัติงาน : รายละเอียดตาม Flow Chart
๓. ผลผลิตและผู้ใช้บริการ (Output & Customer) Output
- จำนวนการฝึกอบรมที่ได้จัดขึ้น Customer
- คณาจารย์บุคลากรและนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
๔. ความถี่และปริมาณงาน
- ดำเนินการฝึกอบรม ๒ ครั้ง/ปีการศึกษา
๕. การจัดทาแผนการดำเนินงาน ประกอบด้วย
๕.๑ แผนประจาปี(เอกสาร ๑)
๕.๒ แผนดำเนินการฝึกอบรมในแต่ละครั้ง ตาม Check list การจัดฝึกอบรม